Posted by Ju (Jui Jui’s mommy) on August 7, 2010 at 7:30am
FAQs
หลายคำถามพยายามตอบ
*คำเตือน เรื่องราวนี้เป็นเรื่องราวจากแนวคิดของครอบครัวเราเอง อาจจะไม่ตรงใจบ้าง โปรดพิจารณาค่ะ 🙂
บางครั้งครอบครัวเราก็คล้ายๆ ตัวประหลาดในสังคม เนื่องจากบ้านอยู่โซนที่ไม่มีชาวต่างชาติซักเท่าไหร่ค่ะ คนเลยแปลกใจกัน หลายคำถามทั้งจากคนเพิ่งรู้จัก จากเพื่อน จากครอบครัว จากคุณหมอส่วนใหญ่เมื่อได้คำตอบไปแล้วจะเห็นดีเห็นงามด้วย
ครอบครัวเราโชคดีที่ผู้ใหญ่ทุกคนเข้าใจ และเห็นด้วยกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ บางครั้งแม่เราเองยังพยายามพูดภาษาอังกฤษกับหลาน เราเห็นแล้วก็อดยิ้มไม่ได้
- อุ๊ย พูดภาษาอังกฤษเหรอ พูดไทยได้รึเปล่า
คำถามนี้เป็นคำถามแรกๆ เลยค่ะ สำหรับคนเพิ่งรู้จักกันจะต้องถาม น้องก็พูดไทยได้ แต่อยู่กับพ่อแม่พูดอังกฤษค่ะ - พูดภาษาอังกฤษกับลูกตลอดเลยเหรอ
คุณพ่อพูดตลอด คุณแม่เมื่อก่อนตลอดเลย เดี๋ยวนี้ลดลงแล้ว เพราะเริ่มไม่อยากพูดไทย เกรงว่าจะมีปัญหาในอนาคตอันใกล้นี้ได้ รีบปรับตัวด่วนๆๆส่วนตัวมองว่าการใช้ภาษาเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความต่อเนื่อง ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าแค่ไหน อย่างไร น่าจะมองตามสถานการณ์มากกว่าค่ะ ปัจจุบันลูกชายพูดไทยได้ไม่ดีเท่าเด็กวัยเดียวกันค่ะ แต่โดยรวมโอเคมากเข้ากันได้เป็นอย่างดี เพียงแค่เวลาที่จะเล่าอะไรให้คนอื่นฟังยาวๆ จะพูดช้า คิดเยอะ บางครั้งคิดไม่ออกก็จะหงุดหงิด แล้วก็พูดไทยอังกฤษปนกันไปหมดเลยก็มี เหมือนว่าคิดประโยคไว้เยอะ แต่พอจะเล่าแล้วเรียบเรียงประโยคไม่ถูก บางคำก็ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร ก็ต้องค่อยๆ ปรับไปเรื่อยๆ พอโย้ทางนั้นมากก็ดึงกลับมาทางนี้ ประมาณนั้น ยืดหยุ่นดีกว่าตึงเกินไปจะทำให้เครียดกันไปใหญ่ค่ะ - เริ่มตั้งแต่น้องอายุเท่าไหร่ เด็กเล็กๆ เค้าไม่สับสนเหรอ
เหมือน เด็กลูกครึ่งทั่งไป ทั้งครึ่งไทยครึ่งจีน ครึ่งฝรั่ง ไม่รวมครึ่งคนครึ่งลิงซึ่งเป็นกับเด็กทุกคน 555 เด็กๆ เรียนรู้ไวค่ะ
สามารถแยกภาษาไทย ลักษณะการใช้ภาษาก็ควรจะเลียนแบบเด็กลูกครึ่งค่ะ ที่บ้านเราพ่อแม่พูดไทย อาม่าพูดจีน ทุกคนในบ้านฟังพูดได้หมด ยกเว้นเรา เพราะอาม่าเสียตั้งแต่เรายังเล็กเลยไม่มีโอกาสได้ใช้ภาษาจีนต่อเนื่อง แต่เรื่องการฟังพอจะฟังออกบ้าง เดาเอาบ้าง ซึ่งถือว่าไม่ได้ดีกว่า 555 ด้วยเล็งเห็นว่าจริงๆ แล้วการใช้ภาษาที่สองเป็นเรื่องธรรมดามาก แต่อาจจะยากลำบากสำหรับเราๆ เนื่องจากไม่ได้เป็นภาษาพ่อภาษาแม่ก็เลยต้องพยายามเป็นหลายๆ เท่าเพื่อให้พัฒนาได้ทันลูก ที่บ้านใช้ 3 ภาษา ตามที่เคยเล่าไปแล้ว แต่ภาษาจีนลูกได้น้อยมากเพราะไม่ค่อยได้อยู่กับอาม่าซักเท่าไหร่ น่าเสียดายเหมือนกันค่ะ - ไม่กลัวว่าลูกจะพูดผิดเหรอ
คำถามนี้ไม่มีคนถาม แต่คิดว่าคงมีในใจ เพราะเป็นคำตอบที่เวลาเราถามว่าน่าจะสอนน้องเองที่บ้านได้นะคะ เชิงแนะนำ
ขอตอบว่าเลยจุดนั้นมาแล้ว มุมมองเราอาจจะต่างกันนิดนึง ตรงที่ว่าเราไม่กลัวที่จะให้ลูกปรับสิ่งที่ผิดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง พยายามสอนลูกให้เหมือนฟองน้ำ ซึมซับไว้ให้มาก หลายครั้งที่ลูกชาย correct คนอื่น (บางทีดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เด็กๆ ไม่รู้เรื่องค่ะเค้าพูดตามความจริง ต้องค่อยๆ สอน) แต่สิ่งนึงที่จะต้องมาคู่กันคือความมุ่งมั่นและมั่นใจ พร้อมที่จะพัฒนาทักษะของตัวเองด้วย หากเราคิดว่าแค่สอนตามที่เราได้ นั่นอาจจะไม่ถูกซะทีเดียว แต่เราต้องพัฒนาตัวเราเองด้วย เพราะวันนึงเราจะต้องเป็นคนตามลูก ไม่ใช่ลูกตามเราค่ะ เพราะเด็กๆ เค้าเรียนรู้ไวกว่าเรามาก
ฉะนั้นหากมุ่งมั่น มั่นใจเราเคยเขียนไว้ในกระทู้อื่นๆ สำหรับเรื่องนี้ขอยกมาหน่อยนะคะ เพื่อให้พ่อแม่ที่เริ่มต้นได้มีความมั่นใจมากขึ้น
“สิ่งนึงที่เด็กสองภาษามีกันทุกคนคือความมั่นใจที่พ่อแม่ส่งต่อมาให้ พ่อแม่ไทยแท้ในนี้ทุกคนคงต้องก้าวผ่านเส้นความกังวลใจส่วนตัวถึงจะมายืนในจุดที่สอนสองภาษาได้ ความมั่นใจเป็นกุญแจหลักที่จะก้าวข้ามเส้นนั้นมาได้
สิ่งนึงที่เห็นได้ชัดมากๆ สำหรับเด็กสองภาษาคือความมั่นใจที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ความกล้าที่จะใช้ภาษาที่สองแม้จะผิดบ้างถูกบ้างก็ตาม เราเองเรียนภาษาอังกฤษมาเป็นทศวรรตนะคะ ไม่เคยมีความมั่นใจจนกระทั่งก้าวผ่านเส้นนั้นมาเหมือนกันค่ะ”
- ถนัดภาษาใดภาษาหนึ่งมากกว่ากันรึเปล่า
แน่นอนว่าจะต้องถนัดภาษา ใดภาษาหนึ่งมากกว่าแน่ๆ อยู่ที่ความเคยชิน ได้ใช้บ่อยแค่ไหน ถ้ายิ่งได้ใช้บ่อยก็ยิ่งถนัดมากกว่าค่ะ แต่ก็ไม่ได้เสียหายอะไรมากมายค่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ ยังมีเวลาอีกยาวไกล หนทางข้างหน้าน่าจะลำบากกว่าปัจจุบันหลายเท่า - พูดไทยชัดเจนดีนะคะ
ลูกชายโชคดีค่ะ พูดไทยชัดเจน แต่จะช้าบ้างกับประโยคที่เค้าอยากจะเล่ายาวๆ และไม่ค่อยได้ใช้บ่อยๆ คำที่ไม่ชัดจะต้องปรับเมื่อเห็นลูกพูดผิดค่ะ เด็กๆ จะจำได้ดีกว่า - น้องเรียน Inter เหรอ
คำถามนี้จะถามต่อจากคำถามที่ว่าพูดไทยได้มั้ยบ่อยๆ ค่ะน้องเรียน Inter เล็กๆ ค่ะ จุดประสงค์ที่ส่งลูกเรียนไม่ได้อยากให้พูดภาษาอังกฤษได้อย่างเดียว แต่มีอีกหลายเหตุผล เป้าหมายตั้งไว้จนเรียนจบนู่นแต่จะเป็นเหมือนที่คิดไว้รึเปล่านั้นยังตอบไม่
ได้ ค่อยๆ เดินไปด้วยกันตามทางที่ลูกอยากเดินไปด้วยดีกว่า - เรียนเสริมพิเศษต้องเรียนโรงเรียนสำหรับเด็กที่พูดอังกฤษรึเปล่า
ลูกชาย เรียนเสริมเปียโน กับ ศิลปะ กับคุณครูคนไทยทั้งหมดค่ะ แต่คุณครูเปียโนใจดีมาก รู้ว่าลูกถนัดอังกฤษก็พยายามสอนเป็นภาษาอังกฤษให้ เพื่อให้เค้าเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย บางคนก็ว่าเรียนมากไปเด็กเครียด แต่เรามองกลับกัน เด็กๆ
จะเติบโตมาเป็นอย่างไรพ่อแม่เป็นคนกำหนดกึ่งหนึ่งเด็กเลือกเดินเองกึ่งหนึ่ง ก่อนที่ลูกจะพร้อมก้าวเดินเองเราเองเป็นคนประคับประคองไป เหมือนเดินเตาะแตะน่ะค่ะ
เราเองยอมรับว่าค่อนข้างไม่ตามใจ ลูกชายเองช่วงแรกไม่ชอบเรียนเปียโนเอามากๆ แต่เรามองถึงอนาคต ก็ออกแนวฝืนใจกันบ้าง แต่ปัจจุบันก็กลายเป็นรักและซ้อมเองโดยไม่ต้องบอก สิ่งหนึ่งที่ได้ คือลูกมีวินัยกับตัวเองมากขึ้น และเป็นเด็กอารมณ์ดี
(เฉพาะกับครอบครัว แต่พอเจอหน้าคนอื่นงี๊ทำแม่อายประจำ หน้างอเป็นจวักเลยทีเดียว)
เรื่องเรียนศิลปะ นอกจากได้ความคิดสร้างสรรค์แล้วเด็กๆ ได้ใช้กล้ามเนื้อมือด้วย จริงๆ สอนเองที่บ้านก็ได้ค่ะ แต่เราให้ไปเรียนเพิ่มเติมเพื่อจะได้เจอเพื่อนๆ วัยเดียวกันมากขึ้น เปิดความคิดจินตนาการมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ลูกชายเห็นคุณพ่อคุณแม่วาดรูปแล้วเหมือนกับเค้าจะไม่กล้า ลองวาด ไปเรียนมาซักพักดีขึ้นเยอะค่ะ เคยเห็นหลายๆ คนที่พ่อแม่ชอบงานด้านนี้ลูกเล็กๆ จะไม่อยากทำเอง จะให้พ่อแม่ทำให้เพราะเค้าไม่มั่นใจ กลัวจะออกมาแล้วไม่ดีเท่าพ่อแม่
- แนะนำที่จะพาลูกไปเรียนหน่อยได้มั้ย
พ่อแม่หลายคนที่สนใจพาลูกไปเรียนภาษาอังกฤษ เราแนะนำให้ไป Playgroup ค่ะ เคยเขียนกระทู้ไว้ที่นึงเหมือนกัน หาดูได้นะคะ แต่ไม่โพสต์ซ้ำเดี๋ยวเหมือนโฆษณาให้โรงเรียนค่ะ
ที่แนะนำ Playgroup เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กใช้ภาษาอังกฤษจริงๆ ในราคาที่สมเหตุสมผล วัยที่แนะนำคือ 1-4 ปี เกินกว่านี้รู้สึกจะเล็กไปแล้วค่ะ เพราะเด็กที่มาส่วนใหญ่เค้าจะยังไม่เข้าเรียนกันอยู่ในวัย 2 ขวบเยอะที่สุดค่ะ ถ้าลูกเรา 4 ขวบแล้วอาจจะเล่นไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ คือเล่นแต่ของเล่นประมาณนั้น
ตอนช่วงลูกชายไป 2.x จำเดือนไม่ได้ แรกๆ ก็กลัวไม่กล้าค่ะ หลังๆ ช่วยคุณครูหยิบหุ่นมือมาร้องเพลง ทำกิจกรรมร่วมกัน สนุกสนานดีค่ะ ใช้เวลาใน Class 3 ชม. และออกมาเล่นข้างนอกได้อีก
ไม่ค่อยได้เข้ามาเขียน Blog อัพเดทหรือ Comment บ่อยๆ ว่างๆ จะแว้บมาเล่าให้ฟังอีกค่ะ