บทความ

I, me, you, mine ปัญหาสามัญประจำบ้าน

Posted by Mommy Dearest on October 8, 2010 at 11:17pm ตั้งแต่ลูกสาวเริ่มพูดมาก้มีการพัฒนาการที่ดีมาเรื่อยๆ ส่วนมากจะเน้นการพูดคำๆให้มีการออกเสียงได้ชัดเจนมากกว่าที่จะจับรูปประโยคเพราะคิดว่าลูกสาวยังเล็กคงจะซึมซับรูปประโยคและ tense ได้จากการพูดจริงๆมากกว่า เพราะได้รับรู้จากการใช้จริงๆ จนปัจจุบันลูกสาวอายุ สองขวบ กับอีกหนึ่งเดือนแล้ว ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา แม่เองก็ยุ่งอยู่กับเรื่องเรียนและทำงาน จะเจอลูกจริงๆนั้นก็อาทิตย์ละไม่กี่วัน ตกแล้วก็สามวันเต็มๆได้ หันมาดูลูกอีกที ลูกมีการใช้ลักษณะการพูดของภาษาไทยไปประกอบกับการพูดภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น การพูดในรูปของบุคคลที่สาม ในภาษาไทย การพูดโดยใช้ชื่อตัวเองแทนในรูปประโยคถือว่าเป็นเรื่องปกติ เช่น ลิซซี่อยากเข้าห้องน้ำ ลิซซี่อยากกินนม แต่เมื่อปรับมาใช้กับรูปประโยคของภาษาอังกฤษเองแล้ว ถือว่าเป็นการใช้รูปประโยคบุคคลที่สาม หรือที่เค้าเรียกกันว่า Speak in the third person. เป็นการพูดที่ไม่ถูกต้องในภาษาอังกฤษ หลังจากสังเกตุมาสักพัก นั่งคิดอยุ่นานว่าจะปรับแก้อย่างไรให้ แก้ปัญหานี้ได้ ประโยคที่ได้ยินลูกสาวพูดประจำคือ mommy hold you. เมื่อต้องการให้แม่อุ้ม mommy help you. เมื่อต้องการให้แม่ช่วย Mommy, help me please. Lizzy […]

Baby talk

Posted by Mommy Dearest on April 23, 2010 at 10:25am ถ้าพูดถึงเบบี้ท้อค ทุกคนคงนึกถึงการพูดของเด็กแรกเกิดจนขวบนึง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นภาษาอะไร คำถามที่อยู่ในใจแม่หลายๆคนคือ ทำอย่างไรให้ลูกพูดได้เร็ว พูดได้ชัด และสามารถสื่อสารกับพ่อแม่ได้อย่ามีประสิทธิภาพ ข้อที่ทุกคนต้องนึกถึงก่อนที่จะพูดถึงการพูดของลูกคือ ความสามารถของเด็กเอง เด็กบางคนพูดเร็ว โตไปเป็นเด็กที่พูดเก่ง เด็กบางคนพูดช้า เป็น character ของเค้าเอง เด็กผู้หญิงพูดเร็วกว่าเด็กผู้ชาย อันนี้หลายๆคนได้ยืนยันมาแล้ว เพราะ nature เนี่ยให้ผู้หญิงพูดมากกว่าผู้ชาย แต่ถามว่ามันเกิดขึ้นร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ คงไม่ แต่ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าเด็กผู้หญิงพูดเร็วกว่า เด็กที่มีพี่น้องอายุใกล้เคียง จะพูดได้เร็วกว่าเด็กที่เป็นลูกคนโต อันนี้เพื่อนที่ทำงาน มีลูกสึ่คน ลูกชายคนเล็กพูดได้เป็นประโยคสั้นๆตั้งแต่ยังไม่สองขวบดี เพราะเด็กมีประสบการณ์จากคนรอบข้างที่ใช้ภาษาง่ายๆเหมือนกัน ผู้ใหญ่รอบข้าง เช่น ปู่ย่าตายายและพ่อแม่ มีส่วนในการพูดของเด็ก คนเลี้ยงหรือคนรอบข้างที่ขยันพูดกับเด็ก ทำให้เด็กมีความอยากที่จะสื่อสารกับคนรอบข้าง ถ้าพูดไปแล้ว องประกอบที่ทำให้เด็กพูดเร็วหรือช้า ลิสกันมาเป็นสามหน้าก็คงไม่หมด อันนี้คิดว่าคร่าวๆที่ตัวเองคิดว่ามีส่วนในพัฒนาการของเด็ก อันนี้เป็นความคิดส่วนตัวล้วนๆนะคะ พอพูดถึงความสามารถของเด็กเองเนี่ยถ้าเรียกแล้วถือว่าเป็น Intrinsic factor หรือเป็นแฟคเตอร์ภายในตัวเค้าเองที่เราไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แล้วอะไรที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เราสามารถเปลี่ยนแปลง extrinsic […]

เส้นทางสู่เด็กสองภาษา: My daughter’s journey to becoming a bilingual child ตอนที่ 3 ความล้มเหลว

Posted by Mommy Dearest on April 16, 2010 at 10:00am ห่างหายจากการเขียนบล็อกเรื่องพัฒนาการทางภาษาของลูกไปนาน ได้แต่อ่านตอนที่ 1 กับตอนที่ 2 วกไปวนมา คำถามที่เกิดขึ้นในใจมีหลายคำถาม ศักยภาพของลูกเพียงพอหรือไม่ คำถามนี้ตอบได้เลยว่ามี สมองเด็กเค้ารู้จักแยกแยะ รีเสิร์ชโชว์ก็เยอะแยะ ศักยภาพของแม่เองล่ะ เพียงพอหรือเปล่า ถ้าให้ตอบกันตามตรงคงไม่เพียงพอ การสอนลูกให้มีผลการตอบรับที่ดีนั้นไม่ได้ง่าย สำหรับคนที่ประสบผลสำเร็จในการสอน อันนี้ต้องยอมรับว่าเจ๋งจริง เอาเป็นว่ามาต่อ จากตอนที่แล้วเล่าถึง เดือนที่เก้าแล้วว่าลูกเริ่มหัดพูดเป็นคำๆ ตอนนี้คุณตาคุณยายยังอยู่ การส่งภาษาไทยเลยกลายเป็นภาษาประจำบ้านเราไปโดยปริยาย คุณตาคุณยายอยู่จนลูกสาวอายุขวบกับหนึ่งเดือน ตอนนี้(คิดเองว่า)ลูกสาวเข้าใจภาษาไทยเกือบครบร้อยเปอร์เซ็นต์ กับพ่อเค้ายังใช้ภาษาอังกฤษอยู่ หลังจากคุณตาคุณยายกลับไป ระบบที่เราใช้เริ่มปั่นป่วน แม่เองใช้ภาษาอังกฤษตลอดเวลา จะใช้ภาษาไทยก็เมื่อโทรคุณตากับคุณยายซึ่งก็อาทิตย์ละครั้งเดียว กับพูดกับลูก ซึ่งแรกๆก็พูดได้ดี ยอมรับว่าเวลาพูดภาษาไทยแล้วทำให้คิดถึงคุณตากับคุณยายมาก พอเวลาผ่านไปหลายอาทิตย์แม่เอง เริ่มพูดไทยครึ่ง พูดอังกฤษครึ่งกับลูก เริ่มตั้งใจสอนลูกให้อ่านหนังสือ สอนให้เรียนตัวอักษร ตัวเลข พอมาถึงตรงนี้ แม่เริ่ม งง กับตัวเอง แล้วสอนผสม สอนภาษาไทยอย่างเดียว หรือสอนภาษาอังกฤษอย่างเดียว เชื่อไหม เวลาจากวันนึง […]

The BIG girl says bye bye to her little bottle.

Posted by Mommy Dearest on March 31, 2010 at 8:00am ไม่ได้เขียนบล็อกให้ลูกสาวมานานมาก จำได้ว่าเขียนไปครั้งล่าสุด คือ วันที่สิบห้าเดือนมกราคม เรื่องจุกหลอกของหนู ซึ่งตอนนั้นแม่ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะทำได้หรือเปล่า สุดท้ายผ่านไปได้ด้วยดี สุดท้ายใช้เวลาทั้งหมดสามหรือสี่วัน ลูกของแม่ก็ไม่ร้องหาจุกหลอกอีกเลย กลางคืนกินนมก็กินได้ดี ไม่นอนดูดจุกไปสิบนาทีก่อนเริ่มกินนม หลังจากที่เลิกจุกหลอกได้ ลิซซี่ก็เริ่มกินได้เยอะขึ้น แต่กินแต่นม วันนึงร้องหาแต่นม สี่ขวดห้าขวด ขวดละ 240 cc บางคืนก็ตื่นสองรอบมาขอกินนม พอกลางวันก็กินแต่นม ข้าวไม่ยอมกินเอาซะอย่างนั้นเพราะอิ่มนม ทีนี้แม่เริ่มเครียด เพราะจากสิบสองเดือนถึงสิบแปดเดือน น้ำหนักหนูขึ้นไม่ถึงกิโลดี แม่เข้าใจว่าหนูเป็นเด็กไม่อ้วนแต่ตัวยาว กระเพราะเล็ก อันนี้สังเกตุได้ดี ถ้าแม่ยัดมากไปอยู่ดีๆอ๊วกออกมาเองเลย แต่ไม่ยอมกินอะไรเลยดวดแต่นมเนี่ยแม่ก็รับไม่ค่อยได้ แม่เลยเริ่มปรึกษาคนรอบข้าง เริ่มจากเพื่อนๆที่ทำงาน ได้รับคำแนะนำที่ดีๆหลายอย่าง ไอเดียที่ได้มาคือ ลองให้ขวดแต่กลางคืนกับตอนเช้า กลางวันให้กินจากแก้ว ทุกทีที่ลูกร้องหาขวด ให้เอาจานข้าวยื่นให้แทน อันนี้เพื่อนที่ทำงานบอกว่าลูกสาวเค้าใช้เวลาทั้งหมดสามวันกว่าจะกิน แม่ฟังแล้วทรมาณแทนจังเลย หลังจากได้คำแนะๆนำจากเพื่อนๆที่ทำงาน ก็ยังได้คำแนะนำจากเพื่อนๆพี่ๆในเวปด้วย ขอบคุณสำหรับกำลังใจ จริงๆค่ะ และต้องขอบคุณคุณหมอฟันที่น่ารัก พี่เล็กแม่น้องเรอิเลอามากๆที่คอยให้คำแนะนำและกำลังใจ พอหันมาได้ข้อสรุป […]

Headache and Heartache

Posted by Mommy Dearest on January 15, 2010 at 10:00am “การเลี้ยงดูลูก” และ “การสั่งสอนลูก” คือประโยคสองประโยคที่คนเป็นพ่อแม่คงคุ้นเคยกันดี ประโยคแรก “การเลี้ยงดูลูก” เป็นการบ่งบอกไปในทาง physical หรือเป็นการปฏิบัติ ดูแลทางด้านการพัฒนาทางร่างกาย ส่วนประโยคที่สอง “การสั่งสอนลูก” เป็นการบ่งบอกไปในทาง emotion หรือใรทางจิตใจ การพัฒนาการทางจิตจะอาจะไม่เห็นได้เป็นตัวตนเหมือนการพัฒนาการทางร่างกายของลูก แต่การพัฒนาการทางจิตใจมีความสำคัญไม่แพ้การพัฒนาการทางร่างกายเลยทีเดียว คำถามที่หลายๆคนอาจจะมีอยู่ในใจ คือ “ทำอย่างไรถึงจะเลี้ยงลูกให้ได้ดี” คำว่า “ได้ดี” หมายถึงอะไร สำหรับตัวดิฉันเองแล้ว คิดเสมอ ว่า เลี้ยงลูกได้ดีหรือไม่ได้ ใครคือคนตัดสิน สังคม คนรอบข้าง หรือตัวพ่อแม่เอง สังคมและคนรอบข้างอาจจะมีส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงดูลูกของแต่ละบุคคล ในสังคมที่แตกต่างกัน อาจจะมองในสิ่งเดียวกันแตกต่างกันไป เมื่อสังคมคือแค่ส่วนประกอบ แล้วอะไรคือตัวหลักที่จะช่วยในการเลี้ยงดูลูกล่ะ “พ่อแม่” นั่นเอง คือตัวหลักที่จะ ทำให้ลูกมีการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจที่ดี ร่ายมาก็ซะยาว อะไรหนอที่จุดประกายทำให้แม่มาบ่นเรื่อยเปื่อย จากที่เกริ่นเอาไว้แต่ต้นว่าสังคมและคนรอบข้างมีส่วนสำคัญในการเลี้ยงลูก เมื่อลูกเป็นเด็กที่มีสองสังคม หน้าที่ ที่จะดูแลลูกอบรมให้ลูกเข้าใจทั้งสองสังคมก็ดูจะหนักขึ้นเป็นสองเท่า ตัวแม่เองดูแล […]

มา…….

Posted by Mommy Dearest on January 7, 2010 at 11:35pm มีลูกสาวอยู่ก็คนเดียว สิบหกเดือนเมื่อสามวันที่แล้ว อย่างที่ทราบนะคะเด็กช่วงนี้เริ่มพูดบางคำก็เดาออก บางคำก็ไม่รู้ว่าพูดอะไร เด็กที่นี่ก็เหมือนเด็กที่เมืองไทย พูดได้ยังไม่ชัดสามสี่วันนี่ชอบ พูดคำว่า “มา” บางทีก็ แดดดี้ หรือ มอมหลัง ๆมาเนี่ย ชอบไปเรียก พ่อเค้าว่ามา ตอนแรกก็งง เพราะเค้าก็เรียกเราว่า mom(แต่ก่อนเรียกว่า แม่ เลย แต่เปลี่ยนไปตามพ่อเรียก)วันนี้แม่ตอนเช้า ลูกเดินไปในห้อง พ่อนอนอยู่เรียกพ่อว่า มาพ่อบอก เมื่อไรลูกจะเลิกเรียกฉันว่า มา ซะ ที It’s Daddy not Momแม่แอบฟังอยู่ เกิดอาการเก็ตขึ้นค่ะ ลูกหมายถึง มา จริงๆลูกอยากให้พ่อออกมาจากห้องเลยบอกว่า มา พ่อ มา พ่อบอกว่าลูกยังพูดว่า อ้ำ เป็นภาษาไทยตอนแรกคิดว่าลูกพูดภาษาไทยไม่ได้ฟังได้อย่างเดียวแต่พอเห็นลูกพูดได้นิดหน่อยอย่างนี้ สงสัยแม่ต้องติดเครื่องชน ซะแล้ว ไม่ได้เกี่ยวกัน แต่มีดีใจ รีบบันทึกไว้ก่อน

เมื่อแม่ติดลูก

Posted by Mommy Dearest on January 6, 2010 at 12:32pm อะไรจะขยันเขียนได้เขียนดีกันทุกวันน้อ บล็อควันนี้เป็นความคิดส่วนตัวนะคะ ใครไม่ชอบโปรดมองข้ามไปเถอะ วันนี้ขอเขียนเรื่องแม่ติดลูก อึม แล้วจะเริ่มตรงไหนดี เอาเป็นว่า มาพูดถึงเรื่องการนอนของลูกกันดีกว่า อย่างที่ทุกๆคนรู้อยู่ว่าครอบครัวของเราใช้ชีวิตอยู่ไกลจากเมืองไทย แถมเป็นครอบครัวผสม สามีมีความเป็นส่วนตัวสูง ส่วนเรามีความเป็นครอบครัวสูง เมื่อพูดถึงความเป็นส่วนตัว ก็ต้องพูดถึงพื้นฐานการสอนตั้งแต่เด็กๆ การสอนของคนอเมริกันในความคิดส่วนตัวแล้ว คนอเมริกันจะสอนให้เด็กมีความเป็นส่วนตัวสูง มีความมั่นใจในตัวเอง ส่วนคนไทยจะสอนให้เด็กมีความนอบน้อมรักครอบครัว เกรงใจผู้ใหญ่ ดิฉันคิดว่าแคเร็คเตอร์พวกนี้ เกิดจากการปลูกผังตั้งแต่เด็ก ปกติดิฉันจะเป็นคนชอบขีดๆเขียนๆ บันทึกไดอารี่จนเป็นกิจวัตร เรื่องราวทุกตัวหนังสือ เมื่อกลับมาอ่าน จะได้ความรู้สึกย้อนกลับไปเมื่อเวลานั้น หลังจากที่มีลูก จากที่บันทึกถึงเรื่องของตัวเองก็กลายเป็นบันทึกถึงเรื่องลูกซะเป็นส่วนใหญ่ การเลี้ยงลูก พัฒนาการของลูก และสิ่งที่ได้ยินจากเพื่อนๆคนไทยที่อ่านไดอารี่ของดิฉันที่อยู่ที่เมืองไทยบ่อยๆคือ “ทำไมต้องอยากดิ้นรนให้ลูกนอนคนเดียว ทำไมอยากให้ลูกแย่งห้องนอน” เรื่องของการแยกห้องนอนของลูกนี้เป็นเรื่องที่ถกกันมานมนาน เริ่มจาก ลูกสาวแรกเกิด ให้นอนในตระกร้าข้างๆเตียง ที่นี่เรียก baby bassinet อันนี้เข้าใจเหตุผล เพราะถ้านอนเตียงเดียวกันแล้วอาจจะหัน หรือกลิ้งไปทับเด็กได้ พอลูกสาวเริ่มโตขึ้นมานิด คนรอบข้างทุกคนแนะนำว่าอย่ากล่อมให้หลับคามือ ให้เอานอนตอนที่สลึมสลือ แรกๆ […]

เส้นทางสู่เด็กสองภาษา: My daughter’s journey to becoming a bilingual child ตอนที่ 2

Posted by Mommy Dearest on January 5, 2010 at 3:56pm พอเริ่มตั้งใจได้แล้วเมื่อถึงเวลาที่จะสอนลูกจริงๆ ดิฉันกลับตื้อคิดไม่ออกจะเริ่มตรงไหนดีวันที่พาลูกสาวกลับมาบ้านก็กลับมานั่งคิดค่อยๆเริ่มหาหนังสือทั้งการสอนลูก ทั้งเรื่องภาษามือมาศึกษาหลังจากศึกษาได้สักพักก็จับใจความได้ว่า การสอนภาษามือเด็กนี้สามารถเริ่มเมื่อไรก็ได้ แต่เหมาะสำหรับเด็กที่อายุหกเดือนขึ้นไป เพราะถ้าเด็กมากไปแล้วสายตาเค้ายังไม่ดีพอที่จะโพกัสอะไรได้ชัดเจน ส่วนเรื่องภาษาปากนี้ ดิฉันเริ่มพูดภาษาไทยกับลูกสาวตั้งแต่วันแีรกที่พาเขากลับมาบ้านเลยจากประสบการณ์จากคนรอบข้างที่เห็นได้ว่าเด็กที่เรียนสองภาษาขึ้นไปจะพูดได้ช้ากว่าเด็กที่เรียนแค่ภาษาเดียวทำให้เกิดอาการฮึด ขยันพูดกับลูกทุกวัน แรกๆรู้สึกว่ากระอักกระอ่วนเหมือนพูดกับก้อนหินเพราะพูดไปแล้วไม่มีอาการตอบรับอะไร ซึ่งก็ถือว่าเป็นธรรมชาติของเด็กแรกเกิดส่วนภาษาอังกฤษคุณพ่อของเค้าก็ยังรับภาระไปอยู่แค่คนเดียว พอเริ่มพ้นสองเดือนมาสายตาลูกเริ่มปรับได้กับสิ่งรอบข้าง เริ่มเห็นว่าเค้ามีการโต้ตอบได้มากขึ้น เริ่มอ้อแอ้แม่ก็ยิ่งฮึกเหิมพอเข้าเดือนที่สี่ เริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับภาษามือมากขึ้น หลังจากนั่งปรึกษาเพื่อนอยู่นานก็ตัดสินใจว่าจะเริ่้มสอนเดือนนี้แหละสองอาทิตย์แรกของการสอน ดิฉันใช้คำง่ายๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นม กิน น้ำผลไม้ นอน ซีเรียล แครกเกอร์ แมว เวลาซายไปปากก็พูดไปด้วย เพื่อเป็นการอธิบายว่าคำนี้ต้องทำอย่างนี้นะดิฉันตั้งความหวังไว้เต็มที่ ยังไงไม่นานคงได้เห็นผลแน่ๆเดือนหน้ารับรองลูกเราส่งภาษามือกลับอย่างแน่นอน สองอาทิตย์ผ่านไป ลูกสาวไม่มีทีท่าว่าจะสนใจเลยพอแม่ส่งภาษามือใส่ ลูกสาวกลับทำหน้าเฉย มองแม่เหมือนมองผ่านอากาศไปเฉยๆความรู้สึกในตอนนั้น บอกตรงๆว่าท้อ แต่ก็ยัีงพยายามต่อไป จนลิซซี่ห้าเดือนครึ่งเมื่อผ่านมาก็เดือนกว่าเห็นว่ายังไม่เห็นผลอีกเช่นเคย ไม่รู้จะทำอย่างไรเลยเลิกสอนไปเฉยๆซะอย่างนั้นพอแม่เลิกสอน พ่อก็ไม่สอน เพราะพ่อเองก็ไม่ได้รู้จักภาษามืออย่างไร พอลิซซี่เข้าหกเดือนกว่าๆ ได้มีโอกาศคุยกับเพื่อนที่สอนลูกสาวภาษามือเหมือนกันลูกสาวเค้าอายุห่างจากลูกสาวเราสองเดือนกว่าๆ เค้าเริ่มมีปฏิกิริยาโต้ตอบทำให้เกิดอาการฮึดอีกรอบเริ่มส่งภาษามือใส่ลูกสาวเหมือนเดิม ร่วมกับใช้สื่อด้วยสื่อที่เลือกคือ Baby Signing Time เนื่องจากได้ยินมาจากเพื่อนที่ทำงานอีกคนว่าหลานชายของเค้าใช้สื่อนี้แล้วได้ผลดี พอลิซซี่เริ่มเข้าเดือนที่แปด […]

เส้นทางสู่เด็กสองภาษา: My daughter’s journey to becoming a bilingual child ตอนที่ 1

Posted by Mommy Dearest on December 31, 2009 at 8:12am ถ้าเมื่อสิบปีก่อนมีคนบอกว่าต่อไปเมื่อดิฉันมีลูกแล้วต้องสอนลูกให้สามารถพูดได้สองภาษา ดิฉันคงหัวเราะงอหงาย เพราะตัวดิฉันเองภาษาไทยภาษาเดียวยังพูดได้ไม่ค่อยคล่อง เมื่อเวลาผ่านไป ชีวิตได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นแม่คนเข้า ความคิดทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนตามประสบการณ์และอายุ ก่อนที่จะมีลูก ดิฉันเคยทำงานที่ร้านอาหารไทยในเมือง St. Louis ได้เจอะเจอกับคนไทยหลายระดับ แต่ที่เห็นแทบทุกครอบครัวมีความเหมือนในตัวของแต่ละครอบครัวคือ ลูกๆของทุกคนไม่ยอมพูดภาษาไทย มองจากคนภายนอกดิฉันรู้สึกว่าขัดตา พ่อไทยแม่ไทย แต่ทำไมภาษาไทยภาษาลิ้นเรา ไม่ดีพอที่จะใช้เป็นการสื่อสารในครอบครัวหรืออย่างไร จึงมีความตั้งใจตั้งแต่ตอนนั้นว่าเมื่อมีลูกจะต้องสอนให้พูดให้ได้คล่องถึงสองภาษา และความคิดในการที่จะสอนลูกสาวให้พูดได้สองภาษาก็เริ่มขึ้น การเดินทางของเราสามคน รวมลูกสาว(ลิซซี่), สามี, และตัวดิฉันเอง ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2551 ดิฉันตั้งใจตั้งแต่เห็นหน้าลูกเป็นครั้งแรกว่า ต้องสอนลูกให้พูดให้ได้อย่างน้อยสองภาษา ซึ่งสามีของดิฉันก็เห็นดีด้วย การเดินทางของเราอาจจะเป็นการเดินทางที่ย้อนศร เมื่อเทียบกับใครๆหลายคนในเมืองไทย เนื่องจากสามีของดิฉัน เกิดและโตที่อเมริกา เรื่องที่จะให้เขามาพูดภาษาไทยนั้นคงเป็นไปได้ยาก ส่วนตัวของดิฉันเองพูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่และใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานซึ่งถือว่าภาษาของดิฉันอยู่ระดับปานกลางไม่ได้เก่งมากมายและไม่ได้แย่มาก ส่วนตัวของลูกสาวคาดว่าต่อไปคงใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะถิ่นอาศัยของเราอยู่ที่อเมริกา ในเมื่อแทบจะไม่มีความสำคัญเลยสักนิดที่จะใช้ภาษาไทย ทำไมดิฉันอยากที่จะให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา ความสำคัญอาจะมองไม่เห็นจากคนรอบตัว แต่สำหรับตัวดิฉันเองแล้วสำคัญมาก อย่างแรกเลย ดิฉันเป็นไทยแท้ เลือดความเป็นไทยไม่ว่าอยู่ที่ไหนมันไม่เจือจาง เมื่อลูกสาวของดิฉันมีเลือดของดิฉันอยู่ครึ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นภาษาที่แม่พูด […]

ประสบการณ์ของแม่

Posted by Mommy Dearest on October 8, 2009 at 3:00am เรื่องนี้อยากเล่าเก็บเอาไว้ เป็นประสบการณ์ส่วนตัว ที่อาจเรียกความมั่นใจของใครหลายๆคนกลับมา ตั้งแต่เล็กๆ พ่อดิชั้นสอนมาว่า อย่าย่อท้อ คนเราเกิดมาสมอง ความฉลาด แตกต่างกันไปแต่สิ่งที่จะทำให้เกิดความแตกต่างนั่นคือ “ความพยายาม” พ่อของดิชั้นเองไม่ได้เกิดมาร่ำรวย สอบเข้าเรียนได้มหาลัยมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งแต่ต้องอาศัยอยู่วัดเพราะไม่มีเงินที่จะไปเช่าห้องอยู่เหมือนคนอื่นเค้า แต่พ่อก็ไม่เคยย่อท้อ เรียนจบจนรับราชการ หน้าที่สุดท้ายก่อนที่จะ retire คือ รองผู้ว่าราชการจังหวัด พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนพ่อเรียนอยู่ พ่อมีความสนใจในภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีเงินไปซื้อหนังสือพิมพ์หรือหนังสือดีๆอ่านเหมือนคนอื่นเค้า พ่อเล่าว่า อาศัยอ่านตามถุงกล้วยแขก อ่านตามห้องสมุด จนทุกวันนี้พ่อคุยกับฝรั่งได้ ถึงจะไม่คล่องแคล่ว แต่เอาตัวรอดได้ดี บางทีคำศัพท์ที่พ่อใช้ เป็นศัพท์ขั้นสูงถึงตัวดิชั้นเองก็ยัง “ทึ่ง” ตัวดิชั้นเองตั้งแต่เด็ก มีพ่อนี่แหละ เป็น idol ส่วนตัวมาตลอด พ่อคอยปลูกฝังว่าต้องมีความพยายาม เมื่อเรามีความพยายามแล้วความสำเร็จมันก็อยู่ไม่เกินเอื้อม เพราะหน้าที่ราชการของพ่อ ทำให้ครอบครัวของเราต้องอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง ย้ายที่อยู่กันทุกสี่ปี ตัวพ่อและแม่เชื่อว่าครอบครัวต้องอยู่ด้วยกัน เพราะฉะนั้นไปไหนไปด้วยกันตลอด ส่วนการศึกษานั้น พ่อเชื่อมั่นในระบบการศึกษาของรัฐ เพราะฉะนั้น ดินชั้นและพี่สาวจึงเรียนโรงเรียนของรัฐบาลมาตลอด […]

1 23 24 25 26 27 40