ยุ้ยเชื่อว่าภาษาเปรียบเสมือนกุญแจ ที่ช่วยเปิดประตูโลกทัศน์ของเราให้ได้พบกับประสบการณ์ และโอกาสใหม่ๆในชีวิต หนังสือเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ช่วยให้ครอบครัวของเราหยิบยื่นกุญแจให้ลูกได้มากกว่าหนึ่งดอก เพื่อในอนาคตเขาจะสามารถเลือกเปิดประตูโอกาสในชีวิตของตัวเองได้หลากหลายยิ่งขึ้น
ความในใจแม่ยุ้ย
ครอบครัวน้องโมกข์ นับว่าเป็นหนึ่งในครอบครัวรุ่นบุกเบิกของแนวคิดเด็กสองภาษา แม่ยุ้ยมีพื้นภาษาดีอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะสอนลูกเป็นเด็กสองภาษาได้ แต่หลังจากได้อ่านหนังสือเด็กสองภาษาพ่อแม่สร้างได้ ก็ได้จุดประกายให้แม่ยุ้ยเริ่มสอน แต่ก็ยังสอนแบบแอบๆอยู่ เพราะยังกลัวสายตาของสังคมที่มองแปลกๆในช่วงนั้น
แต่หลังจากนั้น สิ่งที่ได้ทำก็เริ่มผลิดอกออกผล น้องโมกข์เข้าสู่โหมดภาษาที่สอง สะสมคำศัพท์ไปเรื่อยๆ และสามารถดึงมาใช้ได้จากความรู้สึก และท้ายสุดน้องโมกข์ก็กลายเป็นเด็กสองภาษาที่มีการออกเสียงที่ดี
เคสครอบครัวนี้เป็นตัวอย่างของครอบครัวที่แม่มีพื้นภาษาดี ถ้าได้แนวคิดที่ถูกต้องไปเสริม ลูกๆก็จะเป็นเด็กสองภาษาที่มีคุณภาพได้ไม่ยากเย็นนัก
-
แม่ยุ้ยให้สัมภาษณ์ในรายการครอบครัวเดียวกัน #เด็กสองภาษา
-
รายการทุนปัญญาเด็กสองภาษา ตอนน้องโมกข์ เด็กสองภาษาโคราช ตอนที่ 1
-
รายการทุนปัญญาเด็กสองภาษา ตอนน้องโมกข์ เด็กสองภาษาโคราช ตอนที่ 2
-
รายการทุนปัญญาเด็กสองภาษา ตอนน้องโมกข์ เด็กสองภาษาโคราช ตอนที่ 3
-
Mokkhy หนึ่งผลผลิตจากแนวคิดเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้
-
รายงานผล 5เดือนหลังทำระบบOPOLค่ะ หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้
-
ผลลัพธ์ 1ปี ของเด็กสองภาษาพ่อแม่สร้างได้ หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้
-
Mr Grape
-
Walking with DinoMokkhy
-
สำหรับเด็กสองภาษา โลกใบนี้ไม่มีพรมแดน หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้
-
น้องโมกข์กับนกกระดาษ
-
Mokkhy and his robot
ครอบครัว: ภาณุวัฒน์
น้องโมกข์
อาศัยอยู่จังหวัด: นครราชสีมา
ก่อนหน้านี้สอนภาษาแบบ: สอนเป็นคำศัพท์ เฉพาะบางเวลา ไม่ได้ทำบ่อยมากนัก
เริ่มฝึกตามแนวคิดเด็กสองภาษา ตอนเด็กอายุ: 1 ขวบ 9 เดือน พูดภาษาไทยเป็นประโยคได้แล้ว
ระยะเวลาสอน จนเป็นเด็กสองภาษา: 6 เดือน
ระบบที่เลือกใช้: หนึ่งคนหนึ่งภาษา โดย แม่เป็นคนพูดภาษาอังกฤษ พ่อพูดไทย
ระดับภาษาอังกฤษของแม่: ดี
เสี้ยวเวลาที่ลูกโต้ตอบกลับมาเป็นภาษาที่สองได้ รู้สึกอย่างไร: “นึกถึงหนังสือเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ทันที ซึ่งเป็นการยืนยันว่าพ่อแม่ไทยทุกคนสามารถสร้างเด็กสองภาษาได้จริงๆ”
อุปสรรคตอนต้น:
- วันแรกที่เริ่ม เด็กงงว่าแม่พูดอะไร ไม่พูดด้วยแล้วเดินหนี
- รู้สึกเขินอาย เวลาพูดภาษาอังกฤษนอกบ้าน
- มีเวลาน้อยมากในแต่ละวัน คือแม่และลูกตื่นประมาณ หกโมงเช้า คุณแม่ต้องไปทำงานตอนเจ็ดโมงเช้า กลางวัน และบ่าย ลูกอยู่กับคุณป้าและคุณยายที่บ้านเย็นคุณแม่กลับถึงบ้านประมาณห้าโมงเย็น เล่น ทานข้าว อาบน้ำ และเข้านอนด้วยกันประมาณทุ่มครึ่ง สรุปได้ใช้เวลาอยู่กับลูกวันละสามถึงสี่ชั่วโมงเอง
การแก้ไข:
- พยายามทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสนุก พอเด็กสนุกก็เริ่มตอบกลับและเริ่มเลียนแบบ
- ใช้ภาษากายประกอบในการพูดคุย พอทำได้สักสองสัปดาห์ เด็กก็เริ่มฟังแล้ว
- พูดภาษาอังกฤษกับลูกในบ้านจนมั่นใจ เมื่อไม่เขินก็พูดนอกบ้านได้อย่างมั่นใจ
พัฒนาการ:
- เดือนแรกเด็กยังงงๆแล้วก็ไม่สนใจ แต่สองสามสัปดาห์เด็กเริ่มรับและจับทางได้ ก็เริ่มจะพูดภาษาอังกฤษกับแม่
- เดือนที่สองและสาม เด็กเริ่มอยากรู้คำใหม่ๆ จะชอบชี้รูปในหนังสือ แล้วให้คุณแม่บอกว่าคืออะไร บางทีก็พูดตามบางทีก็ไม่ แต่ยังพูดเป็นคำๆ และวลี แต่พูดเป็นภาษาอังกฤษกับแม่บ่อยขึ้นประมาณ 70%ของการพูดทั้งหมดในแต่ละวัน
- เดือนที่สี่ ลูกเริ่มสร้างประโยคเอง ชอบร้องเพลงที่แม่ร้องให้ฟังบ่อยๆ และสิ่งที่รอคอยก็เกิดขึ้นในเดือนนี้เอง น้องโมกข์พูดภาษาอังกฤษกับแม่ 100% (แต่เฉพาะเวลาที่อยู่กับแม่ลำพังเท่านั้นนะคะ ถ้าพ่ออยู่ด้วยบางทีก็วอกแวกพูดภาษาไทยกับแม่บ้างเหมือนกัน)
- เดือนที่ห้า พูดภาษาอังกฤษไม่หยุด…สร้างประโยคที่ยาวขึ้นได้เอง ถามคำถามได้ดีพอควร…..แต่ที่สำคัญ น้องโมกข์แบ่งโหมดภาษาไทยและอังกฤษอย่างชัดเจนแล้ว หันไปพูดไทยกับคนอื่นๆและหันกลับมาพูดภาษาอังกฤษกับแม่ได้ทันที
- เดือนที่หก น้องโมกข์เริ่มพูดคล่องขึ้น ประโยคดีขึ้นถึงกับละเมอเป็นภาษาอังกฤษก็มีในบางครั้ง
คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างเด็กสองภาษา: ขอให้ทำด้วยความสุขและสนุก ต้องรักษาความรู้สึกของลูกไปด้วยในขณะที่สอน และให้เขาเรียนรู้อย่างมีความสุข ในช่วงแรกมีความกังวลมากว่าเราไม่ใช่คุณแม่เต็มเวลา จะทำได้หรือไม่? ความถี่ในการใช้ภาษาจะบ่อยพอไหม? แต่หลังจากสามสัปดาห์ผ่านไปก็หมดความกังวล เพราะลูกแสดงให้เห็นว่าด้วยเวลาเพียงเล็กน้อยที่เราได้อยู่ด้วยกันนี้แหละ เค้าก็สามารถซึมซับภาษาใหม่ที่เราเริ่มใช้กับเค้าได้จริงๆ เพราะน้องโมกข์เริ่มสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นคำแรกในช่วงนี้เอง ฉะนั้นขอสรุปว่าเวลาที่มีน้อยในแต่ละวันไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพียงแต่เราต้องตั้งใจสร้างเวลาอันน้อยนิดนั้นให้เป็นเวลาคุณภาพจริงๆ
วิเคราะห์: น้องโมกข์มีพัฒนาการตามแนวคิดเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ที่ดี เด็กอาจจะงงในช่วงแรก แต่ก็ไม่ต่อต้าน เพียงแค่สัปดาห์เดียวเด็กก็ปรับตัวได้ แม่น้องโมกข์ค้นพบว่าการสอนให้สนุก ทำให้เด็กยอมรับและสนใจ นั่นก็เป็นจุดเริ่มที่ทำให้น้องโมกข์เข้าสู่เส้นทางเด็กสองภาษา คิดและรู้สึกเป็นสองภาษา แม้กระทั่งละเมอก็ยังละเมอเป็นภาษาอังกฤษ
ในการสอนและใช้ภาษาอังกฤษของแม่น้องโมกข์ เน้นช้าและเคลียร์ ทำให้น้องโมกข์มีจังหวะการพูดภาษาอังกฤษที่ถอดแบบจากแม่ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าส่งเสริมให้พ่อแม่ที่สอนภาษาอังกฤษให้พูดช้าลงและเคลียร์มากขึ้น เพื่อให้เด็กเลียนแบบได้ง่ายและออกเสียงได้เคลียร์มากยิ่งขึ้น
บล็อกบันทึกเรื่องราวครอบครัวเด็กสองภาษา